ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา - Castor bean, Castor oil - Castor-oil Plant
- Castor bean, Castor oil - Castor-oil Plant
Ricinus communis L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Euphorbiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Ricinus communis L.
 
  ชื่อไทย ละหุ่ง, ละหุ่งแดง
 
  ชื่อท้องถิ่น - ขี่ที่(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เพียะลุ๊ง,แผละหุ่ง(ลั้วะ), สือเต๋ยกรั๋ง(ม้ง) - มะละหุ่ง (ทั่วไป); คิติ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน); ดีเต๊าะ (กะเหรี่ยง – กำแพงเพชร); ปีมั้ว (จีน); มะโห่ง, มะโห่งหิน (เหนือ); ละหุ่งแดง (กลาง) [6]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม หรือ ไม้ต้น, ขนาดเล็ก, สูงได้ถึง 6 ม., ยอดอ่อน
ดอก ออกเป็นช่อ สีนวลขาว
ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกัน, กว้าง และยาว 15 – 60 ซม., มีแฉกเป็นแบบนิ้วมือ 5 – 12 แฉก, ปลายแฉกแหลม, ขอบหยักแบบฟันเลื่อย, ที่ปลายแหลมของแต่ละหยักมีต่อม, เนื้อใบค่อนข้างบาง, ไม่มีขน, สีเขียว หรือเขียวแกมแดง; ก้านใบยาว 10 – 30 ซม., มีต่อมที่ปลายก้าน
ดอก ออกเป็นช่อที่ยอดหรือตามปลายกิ่ง, ตั้งตรง, สีเขียว หรือม่วงแดง, มีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนช่อเดียวกัน. ดอกเพศผู้ อยู่ตอนบน, กลีบรองกลีบดอกบาง, แยกเป็น 3 – 5 แฉก; เกสรผู้จำนวนมาก; ก้านเกสรติดกันเป็นกระจุกหรือแยกเป็นกลุ่ม ๆ , อับเรณูรูปค่อนข้างกลม. ดอกเพศเมีย อยู่ส่วนล่างของช่อดอก, ก้านดอกยาวกว่าดอกเพศผู้; กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันคล้ายกาบ, ปลายมี 5 หยัก, หลุดร่วงง่าย; รังไข่มี 3 อัน, แต่ละอันภายในมี 3 ช่อง, มีไข่อ่อนช่องละ 1 หน่วย
ผล รูปไข่, เป็นชนิดแก่แล้วแห้ง, สีเขียว หรือเขียวแกมม่วง, ยาว 1 – 1.5 ซม., มีหนามอ่อน ๆ คลุม. เมล็ด มีพิษ, มีน้ำมัน [6]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกัน, กว้าง และยาว 15 – 60 ซม., มีแฉกเป็นแบบนิ้วมือ 5 – 12 แฉก, ปลายแฉกแหลม, ขอบหยักแบบฟันเลื่อย, ที่ปลายแหลมของแต่ละหยักมีต่อม, เนื้อใบค่อนข้างบาง, ไม่มีขน, สีเขียว หรือเขียวแกมแดง; ก้านใบยาว 10 – 30 ซม., มีต่อมที่ปลายก้าน
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อที่ยอดหรือตามปลายกิ่ง, ตั้งตรง, สีเขียว หรือม่วงแดง, มีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนช่อเดียวกัน. ดอกเพศผู้ อยู่ตอนบน, กลีบรองกลีบดอกบาง, แยกเป็น 3 – 5 แฉก; เกสรผู้จำนวนมาก; ก้านเกสรติดกันเป็นกระจุกหรือแยกเป็นกลุ่ม ๆ , อับเรณูรูปค่อนข้างกลม. ดอกเพศเมีย อยู่ส่วนล่างของช่อดอก, ก้านดอกยาวกว่าดอกเพศผู้; กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันคล้ายกาบ, ปลายมี 5 หยัก, หลุดร่วงง่าย; รังไข่มี 3 อัน, แต่ละอันภายในมี 3 ช่อง, มีไข่อ่อนช่องละ 1 หน่วย
 
  ผล ผล รูปไข่, เป็นชนิดแก่แล้วแห้ง, สีเขียว หรือเขียวแกมม่วง, ยาว 1 – 1.5 ซม., มีหนามอ่อน ๆ คลุม. เมล็ด มีพิษ, มีน้ำมัน [6]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - เมล็ด บีบคั้นเอาน้ำมัน น้ำมันใช้ประกอบอาหาร(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
เมล็ด นำมาบีบน้ำมันใช้เป็นเชื้อเพลิง(ลั้วะ)
ผลแก่ ผ่าครึ่งแล้วนำน้ำยางไปใช้แทนน้ำมันตะเกียง(ม้ง)
- ยอดอ่อนและผลอ่อน ต้มน้ำดื่มเป็นยาถ่ายพยาธิ(ลั้วะ)
- เมล็ด ตากแห้ง แล้วนำไปขาย เป็นพืชเศรษฐกิจมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อราคากิโลกรัมละ 10 บาท(ลั้วะ)
- ราก ตำเป็นยาพวกเหงือกแก้ปวดฟัน, น้ำต้มรากกินเป็นยาระบาย
ใบ ใบสดมีฤทธิ์ฆ่าแมลงบางชนิดได้ น้ำต้มใบกินเป็นยาระบาย, แก้ปวดท้อง, ขับน้ำนม และขับระดู (ใบเผาไฟใช้พอกแก้ปวดบวม, ปวดตามข้อ, ปวดศีรษะ และแผลเรื้อรัง ตำเป็นยาพอกฝี, พอกศีรษะแก้ปวด, แก้บวมอักเสบ; ตำประสมกับ Bland oil ที่อุ่นให้ร้อนใช้พอก หรือทาแก้ปวดตามข้อและทาท้องเด็กแก้ท้องอืด
เมล็ด มีพิษมาก, ถ้ากินเมล็ดดิบ ๆ เพียง 4 – 5 เมล็ด, ก็อาจทำให้ตายได้, เมื่อจะนำมาใช้ทางยา, ให้ทุบเอาเปลือกออก, แยกจุดงอกออกจากเมล็ด, ต้มกับน้ำนมครั้งหนึ่งก่อน, แล้วจึงต้มกับน้ำเพื่อทำลายพิษ, กินแก้ปวดตามข้อ, แก้ปวดหลัง ปวดเมื่อย, เป็นยาถ่าย ตำเป็นยาพอกแผล, แก้ปวดตามข้อ หีบเอาน้ำมันได้น้ำมันละหุ่ง, ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในทางอุตสาหกรรม [6]
เมล็ด ภายในเมล็ดละหุ่งจะประกอบไปด้วยน้ำมัน ซึ่งนำมาเป็นยาระบาย น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ อุตสาหกรรมทำสี ทำหมึกพิมพ์ เครื่องสำอาง สบู่ แต่ก่อนที่เราจะนำมาทำเป็นยานั้นจะต้องทำลายสารที่เป็นพิษเสียก่อน โดยการน้ำไปหุง หรือสะตุเสียก่อน ถ้าไม่เอาออกเป็นอันตรายต่อผนังลำไส้ได้ [1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[2] สมพร ภูติยานันต์, 2546. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 6 : สมุนไพรที่เป็นพิษ. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง